กำลังโหลดข้อมูล กรุณารอสักครู่ ...
หน้าแรก   

กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

 ปฎิทินกิจกรรม     facebook  Gmail   
 
 
คลังความรู้
   »ปฏิทิน
   »knowledge 002
   »Knowledge 003
   »Knowledge 004
 
เอกสาร คู่มือ ประกอบการอบรม
    »เอกสารอบรมเรื่องaaa
    »เอกสารอบรมเรื่องbbbb
    »เอกสารอบรมเรื่องccc
    »document 001
    »document 002
 
ลิ้งแนะนำ
   »กรมประชาสัมพันธ์
   »ครูบ้านนอก
   »ครูไทย ดอทอินโฟ
   »ครูวันดี ดอทคอม
 
 
Breaking News
  Latest News
School Change Maker Festival
ปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ กับการตื่นตัว
พลิกโแมโรงเรียนให้อ่านออก เขียนได้
ภายใน 1 ปี BBL 4 Child
 
 

รูปแบบการประเมินผลตามสภาพจริง


เมื่อ [2015-06-28 17:17:47]

การวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง

การจัดการเรียนการสอนในศตวรษที่ 21 เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งที่เรียน ได้เลือกกิจกรรมตามความสามารถ ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ ได้ฝึกปฏิบัติทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ได้ค้นหาคำตอบและแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการเรียนรู้ที่          ผู้เรียนต้องใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่องโดยมีผู้สอนคอยสร้างบรรยากาศและจัด สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเสริมแรงให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถเชื่อมโยงกับประสบการณ์จริง  โดยการวัดประเมินการเรียนด้วยแบบทดสอบเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถประเมิน ครอบคลุมพฤติกรรมทุกด้านของผู้เรียนแล้วยังไม่อาจวัดกระบวนการคิดที่ซับซ้อน กระบวนการเรียนรู้ ทักษะทางสังคม ดังนั้นหากจะจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ก็ควรเปลี่ยนวิธีการประเมินเป็นแบบการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ที่ใช้วิธีการที่หลากหลายที่สามารถวัดประเมินได้ทั้งทักษะการคิด  การทำงาน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการแสดงออกที่เกิดจากการปฏิบัติในสภาพจริง เน้นพัฒนาการทั้งในส่วนของห้องเรียนและนอกห้องเรียน  ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยมีผู้ประเมินหลายฝ่าย

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดประเมินตามสภาพจริง

-  การแสดงความสามารถของผู้เรียนรายบุคคล

การวัดประเมินเพื่อสะท้อนถึงพฤติกรรมระดับความสามารถ และทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในสถานการณ์ที่เป็นจริงของการดำเนินชีวิต โดยการวัดประเมินและการสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนรับรู้และมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง ตลอดเวลา รวมถึงการมีส่วนร่วมวางแผนและเลือกกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพผู้ เรียนด้วย

-  การบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 

จุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาในทุกระดับชั้นจะกำหนดให้ผู้เรียนเกิด สมรรถนะทั้งในด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามธรรมชาติของรายวิชา แต่วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ข้อสอบเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะวัดได้เพียงแค่ด้านความรู้ไม่ครอบคลุมตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การศึกษาอย่างแท้จริง กระบวนการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ผู้สอนจะต้องคอยสังเกต จดบันทึก และรวบรวมข้อมูลจากผลงาน วิธีการเรียนรู้สู่วิธีปฏิบัติของผู้เรียน โดยอิงตามพฤติกรรมบ่งชี้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

-  การบูรณาการวิธีการและเครื่องมือในการประเมินอย่างหลากหลาย 

การวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง จะใช้เครื่องมือและเทคนิคการประเมินที่หลากหลาย ผู้สอนต้องใกล้ชิดผู้เรียนเพื่อสังเกต สอบถาม รววบรวมเอกสารตัวอย่างงาน  และสรรหาวิธีการที่สามารถกระตุ้นผู้เรียนให้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ จนสามารถประเมินได้ว่าผู้เรียนรู้อะไรบ้างและเรียนรู้อย่างไร สามารถบูรณาการสิ่งที่เรียนรู้เข้าด้วยกันหรือเชื่อมโยงผลการเรียนรู้ไปสู่ ชีวิตจริงการประเมินเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญของหลักการวัดประเมินผลการเรียน รู้ตามสภาพจริง

-   ส่งเสริมการเรียนรู้จากสภาพจริง (Authentic learning)

การวัดประเมินตามสภาพจริง จะต้องมีการรวบรวมผลงานจากภาคปฏิบัติและผลงานที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนรู้ ตามสภาพจริงที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของผู้เรียน ซึ่งเน้นให้เห็นถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้ใน สภาพจริง รวมทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนรวมถึงแหล่ง เรียนรู้ต่างๆ ที่ผู้สอนกำหนดไว้ ดังนั้นการประเมินตามสภาพจริงต้องประเมินทั้งจากภาคปฏิบัติ (performance assessment) ด้วยการสังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้เรียนว่าเป็นไปที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ หรือไม่ และต้องวัดประเมินจากสภาพจริงที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติและแสดงพฤติกรรมใน บริบทของความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน

วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง

1. การสังเกต

การสังเกต เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลจากสภาพจริงอย่างหนึ่ง โดยการสังเกต จะใช้ประเมินการแสดงออกและกระบวนการที่ผู้เรียนใช้ในการทำกิจกรรม ทำให้ผู้สอนสามารถทราบพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และสามารถนำไปสรุปเป็นความคิดเห็นของผู้เรียนได้ การสังเกตมี 2 วิธี คือ

-  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) เป็นการสังเกตที่ผู้สอนต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนร่วมโดยตรงกับกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

-  การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non participant observation) เป็นการสังเกตที่ผู้สอน ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์โดยตรงแต่จะใช้วิธีสังเกตอยู่วงนอก ซึ่งทำให้ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลน้อยกว่าวิธีแรกแต่ขาดข้อมูลเชิงลึกที่อยู่ เบื้องหลังของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

ในมุมมองของการวิจัยเชิงคุณภาพ การสังเกตเป็นวิธีการเบื้องด้นในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์หรือ พฤติกรรมของบุคคล โดยอาศัยประสาทสัมผัส(sensation) ของผู้สังเกตโดยตรงซึ่งอาจใช้ร่วมกับการเก็บรวบรวมข้อมูลอื่นๆ จุดเด่นที่สำคัญของการสังเกต คือทำให้รู้พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นธรรมชาติเป็นข้อมูลที่ตรงตามสภาพความเป็น จริง จัดเป็นข้อมูลซึ่งมีความน่าเชื่อถือมาก เครื่องมือที่ใช้ประกอบการสังเกตมีหลายชนิด เช่น

- แบบบันทึกพฤติกรรม เป็นการบันทึกข้อมูลเรื่องที่เกิดขึ้นกับผู้ เรียนในแต่ละวัน การบันทึกข้อมูลอาจจะทำอย่างละเอียดหรือย่อๆ ก็ได้ โดยปกติจะบันทึกหลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น โดยทั่วไปมักเขียนเป็นรายงานที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงอย่างสั้นกะทัดรัด รวมทั้งสิ่งที่พูดหรือทำโดยสมาชิกในกลุ่ม การสังเกตอย่างชำนาญและบันทึกอย่างเที่ยงตรงต้องให้บันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญ และจำเป็นได้ และยิ่งการบันทึกทำทันทีหลังจากเหตุการณ์เร็วเท่าใด จะทำให้ได้ข้อมูลมากและมีความแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น  การบันทึกพฤติกรรมที่ดีควรบันทึกทันทีหลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น อย่างไร ก็ตามมักจะเป็นไปไม่ได้ เพราะผู้สอนมีกิจกรรมในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลา การบันทึกพฤติกรรมจึงมักจะทำภายหลังจากจบคาบเรียน แต่บางครั้งหากบันทึกภายหลังจบคาบเรียน ผู้สอนมักจะจำเหตุการณ์ไม่ได้ดังนั้นผู้สอนอาจจดบันทึกย่อๆ แล้วลงมือเขียนขยายความภายหลังทันที

-   แบบสำรวจรายการ เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการบันทึกข้อมูลการสังเกตแบบตั้งใจ อย่างเป็นระบบชนิดหนึ่ง โดยแบบสำรวจรายการจะช่วยในการบันทึกแบบตั้งใจที่จะดูพฤติกรรม หรือการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าเกิดขึ้นหรือไม่ องค์ประกอบของแบบสำรวจรายการ ได้แก่ คุณลักษณะ ทักษะ ความสนใจ และพฤติกรรมที่มุ่งหวังตามผลของการเรียนรู้ในแต่ละระดับ แบบสำรวจรายการ จะใช้ในการประเมินการแสดงออก กระบวนการและผลผลิตของผู้เรียน แบบสำรวจรายการที่ดีจะช่วยให้ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะ สมกับผู้เรียน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้สอนประเมินผู้เรียนได้ลึกซึ้ง โดยทั่วไปแบบสำรวจ รายการจะใช้กับผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยๆ จำนวน 4 – 5 คนในแต่ละวัน เพราะหากสังเกตทั้งชั้น ในวันเดียวย่อมจะดูแลไม่ทั่วถึง นอกจากนี้ในการรายงานวามก้าวหน้าของผู้เรียน การประเมินความก้าวหน้าของชั้นเรียนในโครงการบางอย่าง การประเมินโดยใช้แบบสำรวจรายการแบบเป็นกลุ่มจะใช้ได้ดี

ประโยชน์ของการสังเกต

-  ทำให้ทราบความสามารถในการทำงานของผู้เรียนรวมไปถึงท้กษะในการทำงาน วิธีการทำงาน ความก้าวหน้าในการทำงาน

-   ทำให้ผู้สอนได้แนวทางในเรื่องรายละเอียดของผู้เรียน สามารถแก้ใขเกี่ยวกับข้อบกพร่อง ต่างๆ ของผู้เรียน และมีความเข้าใจในตัวผู้เรียนดีขึ้น

การทำให้การสังเกตมืความเที่ยงตรง

การสังเกตมีจุดบกพร่องใหญ่ๆ อยู่ 2 ประการ คือ ความเชื่อมั่น และความเที่ยงตรงในการสังเกต ผู้ที่จะสังเกตสามารถทำให้เครื่องมีอมีความเที่ยงตรงกับวัตถุประสงค์อย่าง แท้จริงได้ดังนี้

-   ระยะเวลาที่สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล อย่าสังเกตเพียงครั้งเดียวแล้วตัดสินต้อง สังเกตหลายๆ ครั้งและจะต้องสังเกตในเวลาที่ต่างกัน

-   ควรใช้ผู้สังเกตมากกว่า 1 คน เพราะจะทำให้ความลำเอียงในการสังเกตลดน้อยลงได้ จะเพิ่มความเชื่อมั่นในการสังเกตด้วย

-   มีการทำบันทึกท้นทีและแปลผลการสังเกตหลังบันทึก

-   แบบจัดบันทึกควรจะเป็นการบันทึกพฤติกรรมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเท่านั้น

-   ควรมีคู่มือในการสังเกตควบคู่กันกับแบบบันทึกผลการสังเกต คู่มือนั้นควรระบุบอกลักษณะของพฤติกรรมที่จะสังเกตได้ วิธีการจัดบันทึก ตลอดจนเกณฑในการให้คะแนนผู้สังเกตควร จะได้ศึกษาคู่มือก่อนท่าการสังเกต

หลักการสังเกต

-   มีจุดมุ่งหมาย ต้องทราบว่าจะสังเกตพฤติกรรมในเรื่องใด พร้อมทั้งแจกแจงการ แสดงออกของพฤติกรรมนั้นให้ละเอียด

-   การรับรู้รวดเร็ว ผู้สังเกตสามารถมองเห็นพฤติกรรม หรืออาการที่ผู้เรียนแสดงออกมาได้อย่างรวดเร็ว

เพราะการแสดงพฤติกรรมบางชนิดเมื่อแสดงออกมาแล้วจะผ่านไปไม่เกิดซ้ำบ่อยๆ หรือไม่อาจเกิดขึ้นอีกเลยก็ได้

-   สังเกตหลายคน หรือหลายครั้ง วิธีการที่จะท่าให้ผลการสังเกตที่ได้เป็นที่น่าเชื่อถือได้ หรือมีความเชื่อมั่นสูง ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ผู้สังเกตหลายคน เช่น 2-5 คน

-   สังเกตให้ตรงกับความจริง การสังเกตที่ดีต้องพยายามให้ใต้พฤติกรรมการแสดงออกที่ เป็นธรรมชาติที่แท้จริงของผู้เรียนมากที่สุด จึงจะเกิดคุณภาพ

-   มีการบันทึกผลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว

2.   การสัมภาษณ์

เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้!นการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมต้านต่างๆ ได้ดี เช่น ความคิด ความรู้สึก กระบวนการในการทำงาน วิธีการแก้ปัญหา เนื่องจากการสัมภาษณ์สามารถสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ตอบ การสัมภาษณ์แบ่งออกได้ เป็น 2 ประเภทคือ

-   การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง หรือการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการเป็นการสัมภาษณ์ที่มีคำถามและ ข้อกำหนดตายตัว

-   การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง เป็นเทคนิคที่ไม่ได้กำหนดคำถามไว้ล่วงหน้า ผู้สัมภาษณ์สามารถตั้งคำถามในประเด็นที่เขาสนใจได้อย่างต่อเนื่อง

ขั้นตอนการสัมภาษณ์

-   การเตรียมการสัมภาษณ์ได้แก่ การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เตรียมงานขั้นตันเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง วางแผนการสัมภาษณ์ ซ้อมสัมภาษณ์บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ตอบ เพื่อจะได้แก้ไขคำถามให้สมบูรณ์ เตรียมอุปกรณ์จดบันทึก และการนัดหมายกับผู้ตอบ

-   ขั้นเริ่ม การสัมภาษณ์ได้แก่ การสร้างบรรยากาศให้มีความเป็นกันเอง บอกวัตถุประสงค์ การจดบันทึกหรือใช้เครื่องบันทึกเสียงต้องแจ้งให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ พูดคุยก่อนสัมภาษณ์จริง

-   ขั้นสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูล ได้แก่ ใช้คำถามที่เตรียมไว้ล่วงหน้าเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ ตั้งใจฟังและป้อนคำถามในจังหวะที่เหมาะสม ใช้ภาษาที่สุภาพและเข้าใจง่าย

3. แบบสอบถาม

แบบสอบถามเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เก็บรวบรวม ข้อมูลด้านต่างๆ ที่ต้องการทราบจากผู้ตอบ ซึ่งแบบสอบถามอาจจะมีลักษณะการสร้างขึ้นเพื่อทดแทนการสัมภาษณ์แบบสอบถามไม่ มีการตัดสินว่าถูกหรือผิด แบบสอบถามจำแนกตามลักษณะของข้อคำถาม อาจจะมีหลายชนิด เช่น

-   ข้อคำถามชนิดให้เขียนตอบ อาจเป็นการเขียนสั้นๆ หรือเติมคำในช่องว่างที่กำหนดให้ข้อคำถามชนิดนี้มักจะใช้ในการเก็บข้อมูลที่ หลากหลายไม่สามารถเดาคาดคะเนคำตอบได้ว่ามีรายละเอียดอย่างไร หรือจัดเป็นหมวดหมู่ได้ยาก ลักษณะข้อมูลมีทั้งส่วนที่เป็นเท็จและเป็นจริงซึ่ง เป็นข้อมูลเรื่องทั่วไปและความคิดของผู้เรียน

-   ข้อคำถามชนิดเลือกตอบจากตัวเลือกที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจเป็นแบบให้เลือกตอบเพียงตัวเลือกเดียวหรือหลายตัวเลือก ข้อคำถามชนิดนี้มักใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากคำถามที่มีแนวตอบที่แน่ชัดอยู่ แล้ว ข้อมูลสามารถนำมาจัดเป็นหมวดหมู่ได้ ลักษณะของข้อมูลมักจะเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อมูล ทั่วไป

-   ข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณคำ ซึ่งใช้กรณีที่ต้องการข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญหรือระดับ ของปัญหา หรือระดับความต้องการของข้อความแต่ละข้อว่าอยู่ในระดับใด

-   ข้อคำถามที่ให้จัดลำดับความสำคัญของคำถามที่กำหนดให้ ใช้ในกรณีที่ต้องการทราบลำดับความสำคัญของข้อความแต่ละข้อในกลุ่มข้อความที่ กำหนดให้กลุ่มหนึ่งว่ามีความสำคัญเรียงลำดับอย่างไร

ในการประเมินตามสภาพจริงที่ใช้แบบสอบถามควรพิจารณาใช้แบบสอบถามปลายเปิด ชนิดเขียนตอบด้วยแบบสอบถามประเภทนี้ไม่มีคำตอบที่แน่นอน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดง ความคิดที่อิสระปราศจากแรงกดดันใดๆ ในการแสดงถึงการแก้ปัญหาที่ไม่มีการตัดสินว่าสิ่งที่ได้แสดงความคิดเห็นไป นั้นถูกหรือผิด คำตอบที่ได้เป็นเครื่องชี้วิธีการทำงาน ความคิดและบุคลิกภาพ ของผู้เรียนเอง

4.   การตรวจผลงาน

การตรวจผลงานเป็นวิธีการประเมินที่ผู้สอนใช้เป็นประจำและใช้บ่อยที่สุด อีกวิธีการหนึ่ง การตรวจผลงานจะเป็นการช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังประสบปัญหาในการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอน ประการหนึ่งส่วนอีกประการหนึ่งเป็นการน่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจผลงานมาใช้ ในการปรับปรุงการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้สอน  การวัดประเมินผลจากการตรวจผลงาน ผู้สอนสามารถดำเนินการได้ตลอดเวลาเช่น การตรวจแบบฝึกหัดผลการปฏิบัตตามโครงการหรือโครงงานต่างๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ผู้สอนสามารถประเมินพฤติกรรมระดับสูงของผู้เรียนได้เป็น อย่างดี

ข้อเสนอแนะสำหรับการตรวจผลงาน

-    ผู้สอนอาจกำหนดงานร่วมกับผู้เรียนและไม่ควรเป็นชิ้นเดียว แต่ก็ไม่จำเป็นต้องนำงานทุกชิ้นมาประเมิน อาจเลือกเฉพาะชิ้นงานที่ผู้เรียนทำได้ดี และการบอกความหมายความสามารถของผู้เรียนตามลักษณะที่ผู้สอนต้องการประเมิน ได้ วิธีนี้เป็นการเน้นจุดแข็งของผู้เรียน นับเป็นการเสริมแรงสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามผลิตงานที่ดีๆ ออกมามากขึ้นอีกวิธีหนึ่ง

-   จากแนวคิดตามข้อ 1 ชิ้นงานที่นำมาประเมินแต่ละคนจึงไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ผู้เรียนคนที่ 1 งานที่ (ทำได้ดี) ควรหยิบมาประเมินอาจเป็นชิ้นงานที่ 2, 3, 5 ส่วนผู้เรียนคนที่ 2 งานที่ควรหยิบมาประเมินอาจเป็นชิ้นงานที่ 1, 2, 4 เป็นต้น

-   อาจประเมินชิ้นงานที่ผู้เรียนทำนอกเหนือจากที่ผู้สอนกำหนดได้ แต่ต้องมั่นใจว่าเป็นสิ่งที่ผู้เรียนทำเองจริงๆ เช่น สิ่งประดิษฐ์ที่ผู้เรียนทำเองที่บ้าน หรือสิ่งที่ผู้เรียนทำขึ้นเองตามความสนใจ เป็นต้น การใช้ข้อมูลและหลักฐานผลงานอย่างกว้างขวางจะทำให้ ผู้สอนรู้จักผู้เรียนมากยิ่งขึ้นและประเมินความสามารถของผู้เรียนตามสภาพที่ แท้จริงของเขาได้แม่นยำยิ่งขึ้น

-   ผลของการประเมินไม่ควรที่จะบอกคะแนนหรือคุณภาพที่เป็นเฉพาะต้วเลขอย่างเดียว แต่ควรที่จะบอกความหมายของผลของคะแนนด้วย

5.   การใช้บันทึกจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง

การประเมินความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียน นอกจากผู้สอนจะใช้วิธีการและเครื่องมือต่างๆ ที่หลากหลายแล้ว ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้บุคคลที่เกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับผู้เรียนได้ มีส่วนร่วมในการรายงานข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการประเมินด้วย การประเมินจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆ คนจะเป็นการหาความเชื่อมั่นของการประเมินจากสภาพความเป็นจริงอีกทางหนึ่ง ข้อมูลที่ได้จากบุคคลที่เกี่ยวข้องมีจุดเด่นตรงที่จะได้ข้อมูลของผู้เรียน จากสถานการณ์ต่างๆ และจากเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จัดว่ามีความสำคัญในการที่จะนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปผล โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน เช่น เพื่อนผู้เรียน เป็นต้น

6.   แบบทดสอบวัดความสามารถที่เป็นจริง 

ข้อสอบจะใช้คำถามที่เกี่ยวกับการนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ ต่างๆ หรือการสร้างความรู้ใหม่จากความเข้าใจและประสบการณ์เดิม หรือสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้นให้คล้ายคลึงกับสถานการณ์จริงหรือเลียนแบบ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง  เช่น ข้อสอบวัดทักษะการใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร  ข้อสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

7.   การรายงานตนเอง

การให้ผู้เรียนเขียนบรรยายความรู้สึก หรือพูดแสดงความคิดเห็นออกมาโดยตรง  เพื่อประเมินความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจ และความต้องการของผู้เรียน ซึ่งช่วยให้ผู้สอนเข้าใจผู้เรียนมากขึ้นและสามารถประเมินผลการเรียนรู้ด้าน ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการ รวมถึงทัศนคติต่อการเรียนรู้ได้

8.   การใช้แฟ้มสะสมผลงาน

การจัดเก็บตัวอย่างผลงานที่มีการรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ และกระทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้เรียนในด้านความรู้ ความเข้าใจ และทักษะต่างๆ ที่ผู้เรียนพัฒนา ทั้งนี้ผลงานสามารถนำมาประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้มีความน่า เชื่อถือได้

วิธีการให้คะแนนในการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง

การวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง มีวิธีการหลากหลายในการให้คะแนนโดยมีรายละเอียดดังนี้

-   การให้คะแนนแบบไม่ชัดเจน (ตามใจผู้ประเมิน) เช่น ในการตรวจให้คะแนนโครงงาน ถ้ากำหนดคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผู้สอนอาจใช้เกณฑ์ในใจซึ่งเป็นไปตามความคิดของผู้สอน ตัดสินให้คะแนนตามที่ห็นสมควรเป็น 6, 8 คะแนน เป็นต้น มีแนวโน้มที่จะเกิดความลำเอียงได้ง่าย การให้คะแนนเช่นนี้เป็นการยากต่อการแปลความหมาย

-   การให้คะแนนแบบถูกผิดชัดเจน เช่น ในการตรวจข้อสอบเมื่อตอบถูกตรงตามเฉลยก็ได้คะแนนเต็ม แต่เมื่อตอบผิดก็ไม่ได้คะแนนดังที่ใช้ในการตรวจข้อสอบแบบถูกผิด แบบจับคู่ หรือแบบตัวเลือก

-   การให้คะแนนแบบมาตรประมาณค่า (Rating scales) เป็นการให้คะแนนตามช่วงของความถูกต้องของคำตอบ หรือการแสดงพฤติกรรม หรือคุณภาพของชิ้นงาน เช่น ในมาตรประมาณค่า 5 ช่วง หรือ 3 ช่วง ฯลฯ เมื่อตอบถูกมากที่สุดหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยที่สุดหรือชิ้นงานมีคุณภาพมากที่ สุดจะได้ 5 คะแนน ลดหลั่นลงไปตามลำดับจนถึง 1 คะแนนเมื่อตอบถูกต้องน้อยที่สุด หรือแสดงพฤติกรรมน้อยที่สุด หรืองานมีคุณภาพน้อยที่สุด เป็นต้น การให้คะแนนวิธีนี้มีเชื่อถือได้มากขึ้นแต่ยังไม่สมบูรณ์ที่จะให้ข้อมูล ป้อนกลับในเชิง “คุณภาพ” ว่าส่วนที่บกพร่องไปนั้นคืออะไร

-   การให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนน หรือรูบริค (Rubric)  วิธีการให้คะแนนที่ใช้หลักการของมาตรประมาณค่าประกอบกับการพรรณนาคุณภาพ กล่าวคือ แทนที่จะใช้ตัวเลข เช่น 5 – 4 – 3 – 2 – 1 หรือ 3 – 2 – 1 ฯลฯ มีการแปลความหมายกำกับด้วยและเพิ่มข้อมูลรายละเอียดว่าคะแนนที่ได้ลดหลั่นลง ไปมีความบกพร่องที่บ่งชี้เป็นข้อมูลเชิง “คุณภาพ” ว่าเป็นอย่างไร ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ผนวกอยู่กับข้อมูลเชิงปริมาณในการให้คะแนนแบบรูบริคนี้ มีประโยชน์ในการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้ถูกประเมิน ซึ่งเป็นการตอบสนองหลักการของการประเมินผลเพื่อการปรับปรุง

 

แหล่งอ้างอิง

1. ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ. กรุงเทพฯ : แดแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น. พิมพ์ครั้งที่ 4.

2.  สมศักดิ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2545). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.

3.  สุนันท์ ศลโกสุม. (2552). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

4.  ชาตรี เกิดธรรม. แนวคิดในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้. แหล่งที่ค้นคว้าจากเว็บไซด์ : http://edu.vru.ac.th/sct/cheet%20downdload/6.pdf

 

ที่มา:  คลิกที่นี่http://c4ed.lib.kmutt.ac.th/x-classroom/?p=873
                                                                                                                                                                                                                                                                             
 
Access มุมสมาชิก
 
   Access to management
User
Password
ประเภท
 
 
Date & Time
 
Check Post
 
Statistic & Counter

ขณะนี้ออนไลน์: 1 คน

สถิติวันนี้:      75 คน

สถิติเดือนนี้:   759 คน

สถิติปีนี้:        2370 คน

สถิติทั้งหมด: 2370 คน