เต้าหู้เป็นอาหารจากถั่ว
เหลืองของกินที่ดูธรรมดาแต่มากด้วยประโยชน์ ให้คุณค่าของโปรตีนสูง คุณภาพดี
และย่อยง่าย บางครั้งชาวจีนเรียกเต้าหู้ว่า “เนื้อไร้กระดูก”
โปรตีนในเต้าหู้และอาหารอื่นๆ
จากถั่วเหลืองมีได้มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของร่างกายเท่านั้น
การวิจัยพบว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
โดยช่วยลดคอเลสเตอรอลร้าย เพิ่มคอเลสเตอรอลดี ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
โดยเฉพาะผู้มีปัญหาคอเลสเตอรอลสูง และยังมีวิตามิน แคลอรี่ต่ำ ไขมันน้อย
จึงเหมาะสำหรับผู้ควบคุมน้ำหนัก มีไฟเบอร์น้อยจึงย่อยง่าย
นอก
จากมีวิตามินและแร่ธาตุแล้ว
ถั่วเหลืองยังมีสารบางตัวที่มีประโยชน์ในการป้องกันโรคมะเร็ง
สารฟิโตเคมิคัล ที่มีมาในถั่วเหลือง ได้แก่ ไอโซฟลาวัน
ช่วยต้านมะเร็งเต้านม มะเร็งสำไส้ใหญ่ และมะเร็งกระเพาะอาหาร
นอกจากนั้นไอโซฟลาวัน ยังทำหน้าที่เป็นเอสโตรเจน
เพื่อช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้
เต้าหู้ มีกำเนิดมากว่า 2,000
ปีในจีนแผ่นดินใหญ่ คนจีนบางกลุ่มถือว่าเต้าหู้เป็นอาหารที่มี
คุณค่าสูงที่อยู่ในความธรรมดาสามัญ คนไทยเรียกเต้าหู้เพี้ยนมาจากภาษาจีนว่า
豆腐 อ่านว่า โตวฟู คนฮกเกี้ยนเรียกว่า ต้าวหู้ คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า โทฟุ
(tofu) คนอังกฤษเรียก bean curd หรือ บางครั้งก็เรียกทับศัพท์ว่า tofu
เช่นกัน ส่วนชาวฝรั่งเศสเรียกว่า fromage de soja (ชีสถั่วเหลือง)
ประวัติเต้าหู้
เต้าหู้ก้อนแรกเกิดขึ้นในประเทศจีน
เล่าขานกันว่า เจ้าชายหลิวอัน (พระนัดดาของ จักรพรรดิหลิวปัง
กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์ฮั่น)
สั่งให้พ่อครัวบดถั่วเหลืองให้เป็นผงแล้วนำไปต้มเป็น
น้ำซุปด้วยเกรงว่ารสจะจืดเกินไป จึงโปรดให้พ่อครัวเติมเกลือลงไปปรุงรส
เพื่อถวายพระมารดาซึ่ง ประชวรหนักจนไม่มีแรงที่จะเคี้ยวอาหารได้
น้ำซุปถั่วเหลืองนั้นค่อยๆจับตัวข้นเป็นก้อนสีขาวนุ่มๆ เมื่อ
พระมารดาเสวยแล้วถึงกับรับสั่งว่า “อร่อย”
เจ้าชายจึงให้เหล่าพ่อครัวค้นหาสาเหตุ จึงพบว่าเกลือบาง
ชนิดมีผลทำให้ผงถั่วเหลืองผสมน้ำเกิดการเกาะตัวขึ้นเป็นเต้าหู้
ชาวญี่ปุ่นรู้จักการปลูกถั่วเหลืองมานานแล้ว
เต้าหู้เดินทางเข้ามาในญี่ปุ่นในสมัยนารา มีการบันทึกว่า เคนโตะ
พระญี่ปุ่นน้ำเต้าหู้มาเผยแพร่หลังจากกลับมาจากการศึกษาพุทธศาสนาที่
ประเทศจีน แต่ยังเป็นอาหารที่รับประทานกันในหมู่พระญี่ปุ่น
ร้อยปีถัดมาเต้าหู้จึงได้มาเป็นส่วนหนึ่งใน เมนูของชนชั้นขุนนางและซามูไร
ส่วนประชาชนได้ลิ้มรสในสมัยเอโดะ แต่พวกเขาเพิ่งรู้จักวิธีดัดแปลง
ถั่วเหลืองน ไปปรุงเป็นเต้าหู้เมื่อพุทธ ศตวรรษที่ 7 โดยทางพุทธศาสนา
แต่ศาสนาพุทธในสังคมญี่ปุ่น สมัยนั้นเป็นศาสนาของชนชั้นกลางและชนชั้นสูง
บทบาทเต้าหู้ในอาหารญี่ปุ่นจึงจำกัดไว้กับคนเฉพาะ
กลุ่มซึ่งแตกต่างจากจีนที่ไม่มีการแบ่งชนชั้น
ประเภทเต้าหู้
ที่
ขายอยู่ตามท้องตลาดนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน
สามารถแยกประเภทให้เข้าใจง่ายๆ โดยแบ่งออกเป็นเต้าหู้ชนิดแข็ง
เต้าหู้ชนิดอ่อน และเต้าหู้ชนิดนิ่ม (หลอด) เต้าหู้ทอด (พวง) ฟองเต้าหู้
ซึ่งแต่ละชนิดเหมาะสำหรับนำมาประกอบอาหารแต่ละประเภทแตกต่างกันไป
บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่าชนิดไหนทำอะไรจึงจะเหมาะ มีข้อแนะนำดีๆ
เกี่ยวกับการนำเต้าหู้มาทำอาหาร เพื่อจะได้นำไปทำให้ถูกในเทศการอาหารเจนี้
เต้าหู้ขาวชนิดแข็ง มี
รสจืด เหมาะกับการนำไปทำพะโล้ ต้มจืดวุ้นเส้น เต้าหู้ทอด ผัดผัก
หรือนำเต้าหุ้ก้อมาหั่นเป็น 4 ส่วน นำไปยัดไส้เห็ดหอม ปรุงรส
ใส่ก๋วยเตี๋ยวแทนลูกชิ้นก็อร่อยไปอีกแบบ
เต้าหู้ขาวชนิดอ่อน รสชาติจืดและเนื้อนุ่ม เหมาะกับสำหรับทำแกงจือด ราดหน้าเต้าหู้ทรงเครื่อง
ผัดกับต้นหอม หรือนำไปนึ่งจิ้มกับซีอิ้ว ในช่วงเทศกาลกินเจ
สามารถใช้เต้าหู้ชนิดนี้ มาทำเป็นสเต๊กเต้าหู้แทนสเต๊กเนื้อทั่วไปได้
เต้าหู้เหลืองชนิดแข็ง คือ
เต้าหู้ขาวชนิดแข็งที่นำไปต้มในน้ำขมิ้น เต้าหู้เหลืองรสชาติจะออกเค็ม
จึงมักจะนำไปเป็นเครื่องปรุงของผัดไทย หมี่กรอบ หมี่กะทิ ก๋วยเตี๋ยวหลอด
เต้าหู้ผัดขิง คนจีนจะชอบนำไปผัดกับถั่วงอก
ถ้าเป็นเทศกาลเจก็จะใช้เต้าหู้ชนิดนี้ทำเป็นไส้ขนมจีบแทนเนื้อหมู
เต้าหู้เหลืองชนิดอ่อน ผิว
ภายนอกจะมีสีเหลือง แต่เนื้อในจะมีสีขาว
รสชาติจืดกว่าเต้าหู้เหลืองชนิดแข็ง แต่จะเค็มกว่าเต้าหู้ขาว
นิยมนำไปทำเป็นเต้าหู้ทรงเครื่อง เต้าหู้น้ำแดง บางคนนำไปทอดจิ้มกับซอส
หรือซีอิ้ว
เต้าหู้ซี้อิ้วดำ เป็นการนำเต้าหู้ขาวไปต้มกับซี้อิ้วดำ และน้ำตาลทรายแดง
ทำให้เต้าหู้มีสีดำ เต้าหู้ชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าเต้าหู้ชนิดอื่นๆ เล็กน้อย
เนื้อเหนียว รสชาติออกหวานและเค็มอยู่ในตัว มักนำไปปรุงเป็นก๋วยเตี๋ยวหลอด
ยำ ผัดผัก ทำให้เปาะเปี้ยะ หรือกินสดก็ได้เช่นกัน
เต้าหู้หลอด เป็นเต้าหู้ที่มีเนื้อนิ่ม จึงต้องบรรจุอยู่ในหลอดพลาสติก นิยมนำไปทำแกงจืด เต้าหู้ทรงเครื่อง และนำไปชุบแป้งข้าวโพดทอด
เต้าหู้ญี่ปุ่น (คินุ) ชนิดอ่อน หน้าตาคล้ายกับเต้าหู้ขาวชนิดอ่อน เหมาะกับการนำมาทำแกงจืด หรือนึ่งร้อนๆ จิ่มกับซอสหรือซีอิ้ว
เต้าหู้ญี่ปุ่น (โมเม็ง) ชนิดแข็ง ชนิดนี้นิยมใส่ในสุกียากี้ หรือนำไปทอดก่อนนำไปผัดกับถั่วงอก หรือใส่ในก๋วยเตี๋ยวหลอด
เต้าหู้ทอด (พวง)ฟองเต้าหู้ ในท้องตลาดจะขายในลักษณะแผ่นแฟ้งหรือผงแห้ง คนจีนนิยมนำมาทอดกรอบ กินกับข้าวต้มหรือนำไปต้มน้ำแกง
เต้าหู้ นำมาประกอบอาหารจะทำได้หลายรูปแบบ กินง่ายเหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย ถือว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ บรรดาคนที่รักสุขภาพ ได้คุณค่าทางโภชนาการครบครัน ก็เลือกสรรเมนูอาหารทำรับประทานกันตามใจชอบเลยค่ะ |