กำลังโหลดข้อมูล กรุณารอสักครู่ ...
กลุ่มงานกฎหมายและคดี  ปฎิทินกิจกรรม     facebook  Gmail     หน้าแรก
 
 
คลังความรู้
   เอกสารดำเนินการวิทยฐานะแนวใหม่
   เอกสารอัตรากำลัง 2561
   พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
   ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 
 
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง คู่มือฯ
    พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2551
    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2553
    พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545
    ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียน การทุจริตและประพฤติ มิชอบประจำปี
 
ลิ้งแนะนำ
   กรมประชาสัมพันธ์
   ครูไทย ดอทอินโฟ
   ครูวันดี ดอทคอม
Breaking News
  Latest News
School Change Maker Festival
ปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ กับการตื่นตัว
พลิกโแมโรงเรียนให้อ่านออก เขียนได้
ภายใน 1 ปี BBL 4 Child
 
TV Online
 
 
ไทยรัฐ | เดลินิวส์ | มติชน| คม ชัด ลึก| ข่าวสด เนชั่นแนล Geographic | ห้องสมุดรอบโลก | สวทช. ธรรมะไทย | พระไตรปิฎกออนไลน์ | ลานธรรมเสวนา
ธรรมะจักร | กัลยาณมิตร | พระธรรมกาย วิชาการ.คอม | ทรูปลูกปัญญา | สสส.| รักบ้านเกิด.
 
 

รูปแบบการประเมินผลตามสภาพจริง


เมื่อ [2018-03-23 06:43:04]

การวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง

การจัดการเรียนการสอนในศตวรษที่ 21 เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งที่เรียน ได้เลือกกิจกรรมตามความสามารถ ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ ได้ฝึกปฏิบัติทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ได้ค้นหาคำตอบและแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการเรียนรู้ที่          ผู้เรียนต้องใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่องโดยมีผู้สอนคอยสร้างบรรยากาศและจัด สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเสริมแรงให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถเชื่อมโยงกับประสบการณ์จริง  โดยการวัดประเมินการเรียนด้วยแบบทดสอบเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถประเมิน ครอบคลุมพฤติกรรมทุกด้านของผู้เรียนแล้วยังไม่อาจวัดกระบวนการคิดที่ซับซ้อน กระบวนการเรียนรู้ ทักษะทางสังคม ดังนั้นหากจะจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ก็ควรเปลี่ยนวิธีการประเมินเป็นแบบการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ที่ใช้วิธีการที่หลากหลายที่สามารถวัดประเมินได้ทั้งทักษะการคิด  การทำงาน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการแสดงออกที่เกิดจากการปฏิบัติในสภาพจริง เน้นพัฒนาการทั้งในส่วนของห้องเรียนและนอกห้องเรียน  ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยมีผู้ประเมินหลายฝ่าย

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดประเมินตามสภาพจริง

-  การแสดงความสามารถของผู้เรียนรายบุคคล

การวัดประเมินเพื่อสะท้อนถึงพฤติกรรมระดับความสามารถ และทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในสถานการณ์ที่เป็นจริงของการดำเนินชีวิต โดยการวัดประเมินและการสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนรับรู้และมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง ตลอดเวลา รวมถึงการมีส่วนร่วมวางแผนและเลือกกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพผู้ เรียนด้วย

-  การบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 

จุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาในทุกระดับชั้นจะกำหนดให้ผู้เรียนเกิด สมรรถนะทั้งในด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามธรรมชาติของรายวิชา แต่วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ข้อสอบเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะวัดได้เพียงแค่ด้านความรู้ไม่ครอบคลุมตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การศึกษาอย่างแท้จริง กระบวนการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ผู้สอนจะต้องคอยสังเกต จดบันทึก และรวบรวมข้อมูลจากผลงาน วิธีการเรียนรู้สู่วิธีปฏิบัติของผู้เรียน โดยอิงตามพฤติกรรมบ่งชี้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

-  การบูรณาการวิธีการและเครื่องมือในการประเมินอย่างหลากหลาย 

การวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง จะใช้เครื่องมือและเทคนิคการประเมินที่หลากหลาย ผู้สอนต้องใกล้ชิดผู้เรียนเพื่อสังเกต สอบถาม รววบรวมเอกสารตัวอย่างงาน  และสรรหาวิธีการที่สามารถกระตุ้นผู้เรียนให้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ จนสามารถประเมินได้ว่าผู้เรียนรู้อะไรบ้างและเรียนรู้อย่างไร สามารถบูรณาการสิ่งที่เรียนรู้เข้าด้วยกันหรือเชื่อมโยงผลการเรียนรู้ไปสู่ ชีวิตจริงการประเมินเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญของหลักการวัดประเมินผลการเรียน รู้ตามสภาพจริง

-   ส่งเสริมการเรียนรู้จากสภาพจริง (Authentic learning)

การวัดประเมินตามสภาพจริง จะต้องมีการรวบรวมผลงานจากภาคปฏิบัติและผลงานที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนรู้ ตามสภาพจริงที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของผู้เรียน ซึ่งเน้นให้เห็นถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้ใน สภาพจริง รวมทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนรวมถึงแหล่ง เรียนรู้ต่างๆ ที่ผู้สอนกำหนดไว้ ดังนั้นการประเมินตามสภาพจริงต้องประเมินทั้งจากภาคปฏิบัติ (performance assessment) ด้วยการสังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้เรียนว่าเป็นไปที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ หรือไม่ และต้องวัดประเมินจากสภาพจริงที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติและแสดงพฤติกรรมใน บริบทของความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน

วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง

1. การสังเกต

การสังเกต เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลจากสภาพจริงอย่างหนึ่ง โดยการสังเกต จะใช้ประเมินการแสดงออกและกระบวนการที่ผู้เรียนใช้ในการทำกิจกรรม ทำให้ผู้สอนสามารถทราบพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และสามารถนำไปสรุปเป็นความคิดเห็นของผู้เรียนได้ การสังเกตมี 2 วิธี คือ

-  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) เป็นการสังเกตที่ผู้สอนต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนร่วมโดยตรงกับกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

-  การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non participant observation) เป็นการสังเกตที่ผู้สอน ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์โดยตรงแต่จะใช้วิธีสังเกตอยู่วงนอก ซึ่งทำให้ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลน้อยกว่าวิธีแรกแต่ขาดข้อมูลเชิงลึกที่อยู่ เบื้องหลังของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

ในมุมมองของการวิจัยเชิงคุณภาพ การสังเกตเป็นวิธีการเบื้องด้นในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์หรือ พฤติกรรมของบุคคล โดยอาศัยประสาทสัมผัส(sensation) ของผู้สังเกตโดยตรงซึ่งอาจใช้ร่วมกับการเก็บรวบรวมข้อมูลอื่นๆ จุดเด่นที่สำคัญของการสังเกต คือทำให้รู้พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นธรรมชาติเป็นข้อมูลที่ตรงตามสภาพความเป็น จริง จัดเป็นข้อมูลซึ่งมีความน่าเชื่อถือมาก เครื่องมือที่ใช้ประกอบการสังเกตมีหลายชนิด เช่น

- แบบบันทึกพฤติกรรม เป็นการบันทึกข้อมูลเรื่องที่เกิดขึ้นกับผู้ เรียนในแต่ละวัน การบันทึกข้อมูลอาจจะทำอย่างละเอียดหรือย่อๆ ก็ได้ โดยปกติจะบันทึกหลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น โดยทั่วไปมักเขียนเป็นรายงานที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงอย่างสั้นกะทัดรัด รวมทั้งสิ่งที่พูดหรือทำโดยสมาชิกในกลุ่ม การสังเกตอย่างชำนาญและบันทึกอย่างเที่ยงตรงต้องให้บันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญ และจำเป็นได้ และยิ่งการบันทึกทำทันทีหลังจากเหตุการณ์เร็วเท่าใด จะทำให้ได้ข้อมูลมากและมีความแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น  การบันทึกพฤติกรรมที่ดีควรบันทึกทันทีหลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น อย่างไร ก็ตามมักจะเป็นไปไม่ได้ เพราะผู้สอนมีกิจกรรมในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลา การบันทึกพฤติกรรมจึงมักจะทำภายหลังจากจบคาบเรียน แต่บางครั้งหากบันทึกภายหลังจบคาบเรียน ผู้สอนมักจะจำเหตุการณ์ไม่ได้ดังนั้นผู้สอนอาจจดบันทึกย่อๆ แล้วลงมือเขียนขยายความภายหลังทันที

-   แบบสำรวจรายการ เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการบันทึกข้อมูลการสังเกตแบบตั้งใจ อย่างเป็นระบบชนิดหนึ่ง โดยแบบสำรวจรายการจะช่วยในการบันทึกแบบตั้งใจที่จะดูพฤติกรรม หรือการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าเกิดขึ้นหรือไม่ องค์ประกอบของแบบสำรวจรายการ ได้แก่ คุณลักษณะ ทักษะ ความสนใจ และพฤติกรรมที่มุ่งหวังตามผลของการเรียนรู้ในแต่ละระดับ แบบสำรวจรายการ จะใช้ในการประเมินการแสดงออก กระบวนการและผลผลิตของผู้เรียน แบบสำรวจรายการที่ดีจะช่วยให้ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะ สมกับผู้เรียน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้สอนประเมินผู้เรียนได้ลึกซึ้ง โดยทั่วไปแบบสำรวจ รายการจะใช้กับผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยๆ จำนวน 4 – 5 คนในแต่ละวัน เพราะหากสังเกตทั้งชั้น ในวันเดียวย่อมจะดูแลไม่ทั่วถึง นอกจากนี้ในการรายงานวามก้าวหน้าของผู้เรียน การประเมินความก้าวหน้าของชั้นเรียนในโครงการบางอย่าง การประเมินโดยใช้แบบสำรวจรายการแบบเป็นกลุ่มจะใช้ได้ดี

ประโยชน์ของการสังเกต

-  ทำให้ทราบความสามารถในการทำงานของผู้เรียนรวมไปถึงท้กษะในการทำงาน วิธีการทำงาน ความก้าวหน้าในการทำงาน

-   ทำให้ผู้สอนได้แนวทางในเรื่องรายละเอียดของผู้เรียน สามารถแก้ใขเกี่ยวกับข้อบกพร่อง ต่างๆ ของผู้เรียน และมีความเข้าใจในตัวผู้เรียนดีขึ้น

การทำให้การสังเกตมืความเที่ยงตรง

การสังเกตมีจุดบกพร่องใหญ่ๆ อยู่ 2 ประการ คือ ความเชื่อมั่น และความเที่ยงตรงในการสังเกต ผู้ที่จะสังเกตสามารถทำให้เครื่องมีอมีความเที่ยงตรงกับวัตถุประสงค์อย่าง แท้จริงได้ดังนี้

-   ระยะเวลาที่สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล อย่าสังเกตเพียงครั้งเดียวแล้วตัดสินต้อง สังเกตหลายๆ ครั้งและจะต้องสังเกตในเวลาที่ต่างกัน

-   ควรใช้ผู้สังเกตมากกว่า 1 คน เพราะจะทำให้ความลำเอียงในการสังเกตลดน้อยลงได้ จะเพิ่มความเชื่อมั่นในการสังเกตด้วย

-   มีการทำบันทึกท้นทีและแปลผลการสังเกตหลังบันทึก

-   แบบจัดบันทึกควรจะเป็นการบันทึกพฤติกรรมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเท่านั้น

-   ควรมีคู่มือในการสังเกตควบคู่กันกับแบบบันทึกผลการสังเกต คู่มือนั้นควรระบุบอกลักษณะของพฤติกรรมที่จะสังเกตได้ วิธีการจัดบันทึก ตลอดจนเกณฑในการให้คะแนนผู้สังเกตควร จะได้ศึกษาคู่มือก่อนท่าการสังเกต

หลักการสังเกต

-   มีจุดมุ่งหมาย ต้องทราบว่าจะสังเกตพฤติกรรมในเรื่องใด พร้อมทั้งแจกแจงการ แสดงออกของพฤติกรรมนั้นให้ละเอียด

-   การรับรู้รวดเร็ว ผู้สังเกตสามารถมองเห็นพฤติกรรม หรืออาการที่ผู้เรียนแสดงออกมาได้อย่างรวดเร็ว

เพราะการแสดงพฤติกรรมบางชนิดเมื่อแสดงออกมาแล้วจะผ่านไปไม่เกิดซ้ำบ่อยๆ หรือไม่อาจเกิดขึ้นอีกเลยก็ได้

-   สังเกตหลายคน หรือหลายครั้ง วิธีการที่จะท่าให้ผลการสังเกตที่ได้เป็นที่น่าเชื่อถือได้ หรือมีความเชื่อมั่นสูง ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ผู้สังเกตหลายคน เช่น 2-5 คน

-   สังเกตให้ตรงกับความจริง การสังเกตที่ดีต้องพยายามให้ใต้พฤติกรรมการแสดงออกที่ เป็นธรรมชาติที่แท้จริงของผู้เรียนมากที่สุด จึงจะเกิดคุณภาพ

-   มีการบันทึกผลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว

2.   การสัมภาษณ์

เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้!นการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมต้านต่างๆ ได้ดี เช่น ความคิด ความรู้สึก กระบวนการในการทำงาน วิธีการแก้ปัญหา เนื่องจากการสัมภาษณ์สามารถสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ตอบ การสัมภาษณ์แบ่งออกได้ เป็น 2 ประเภทคือ

-   การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง หรือการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการเป็นการสัมภาษณ์ที่มีคำถามและ ข้อกำหนดตายตัว

-   การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง เป็นเทคนิคที่ไม่ได้กำหนดคำถามไว้ล่วงหน้า ผู้สัมภาษณ์สามารถตั้งคำถามในประเด็นที่เขาสนใจได้อย่างต่อเนื่อง

ขั้นตอนการสัมภาษณ์

-   การเตรียมการสัมภาษณ์ได้แก่ การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เตรียมงานขั้นตันเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง วางแผนการสัมภาษณ์ ซ้อมสัมภาษณ์บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ตอบ เพื่อจะได้แก้ไขคำถามให้สมบูรณ์ เตรียมอุปกรณ์จดบันทึก และการนัดหมายกับผู้ตอบ

-   ขั้นเริ่ม การสัมภาษณ์ได้แก่ การสร้างบรรยากาศให้มีความเป็นกันเอง บอกวัตถุประสงค์ การจดบันทึกหรือใช้เครื่องบันทึกเสียงต้องแจ้งให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ พูดคุยก่อนสัมภาษณ์จริง

-   ขั้นสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูล ได้แก่ ใช้คำถามที่เตรียมไว้ล่วงหน้าเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ ตั้งใจฟังและป้อนคำถามในจังหวะที่เหมาะสม ใช้ภาษาที่สุภาพและเข้าใจง่าย

3. แบบสอบถาม

แบบสอบถามเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เก็บรวบรวม ข้อมูลด้านต่างๆ ที่ต้องการทราบจากผู้ตอบ ซึ่งแบบสอบถามอาจจะมีลักษณะการสร้างขึ้นเพื่อทดแทนการสัมภาษณ์แบบสอบถามไม่ มีการตัดสินว่าถูกหรือผิด แบบสอบถามจำแนกตามลักษณะของข้อคำถาม อาจจะมีหลายชนิด เช่น

-   ข้อคำถามชนิดให้เขียนตอบ อาจเป็นการเขียนสั้นๆ หรือเติมคำในช่องว่างที่กำหนดให้ข้อคำถามชนิดนี้มักจะใช้ในการเก็บข้อมูลที่ หลากหลายไม่สามารถเดาคาดคะเนคำตอบได้ว่ามีรายละเอียดอย่างไร หรือจัดเป็นหมวดหมู่ได้ยาก ลักษณะข้อมูลมีทั้งส่วนที่เป็นเท็จและเป็นจริงซึ่ง เป็นข้อมูลเรื่องทั่วไปและความคิดของผู้เรียน

-   ข้อคำถามชนิดเลือกตอบจากตัวเลือกที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจเป็นแบบให้เลือกตอบเพียงตัวเลือกเดียวหรือหลายตัวเลือก ข้อคำถามชนิดนี้มักใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากคำถามที่มีแนวตอบที่แน่ชัดอยู่ แล้ว ข้อมูลสามารถนำมาจัดเป็นหมวดหมู่ได้ ลักษณะของข้อมูลมักจะเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อมูล ทั่วไป

-   ข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณคำ ซึ่งใช้กรณีที่ต้องการข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญหรือระดับ ของปัญหา หรือระดับความต้องการของข้อความแต่ละข้อว่าอยู่ในระดับใด

-   ข้อคำถามที่ให้จัดลำดับความสำคัญของคำถามที่กำหนดให้ ใช้ในกรณีที่ต้องการทราบลำดับความสำคัญของข้อความแต่ละข้อในกลุ่มข้อความที่ กำหนดให้กลุ่มหนึ่งว่ามีความสำคัญเรียงลำดับอย่างไร

ในการประเมินตามสภาพจริงที่ใช้แบบสอบถามควรพิจารณาใช้แบบสอบถามปลายเปิด ชนิดเขียนตอบด้วยแบบสอบถามประเภทนี้ไม่มีคำตอบที่แน่นอน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดง ความคิดที่อิสระปราศจากแรงกดดันใดๆ ในการแสดงถึงการแก้ปัญหาที่ไม่มีการตัดสินว่าสิ่งที่ได้แสดงความคิดเห็นไป นั้นถูกหรือผิด คำตอบที่ได้เป็นเครื่องชี้วิธีการทำงาน ความคิดและบุคลิกภาพ ของผู้เรียนเอง

4.   การตรวจผลงาน

การตรวจผลงานเป็นวิธีการประเมินที่ผู้สอนใช้เป็นประจำและใช้บ่อยที่สุด อีกวิธีการหนึ่ง การตรวจผลงานจะเป็นการช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังประสบปัญหาในการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอน ประการหนึ่งส่วนอีกประการหนึ่งเป็นการน่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจผลงานมาใช้ ในการปรับปรุงการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้สอน  การวัดประเมินผลจากการตรวจผลงาน ผู้สอนสามารถดำเนินการได้ตลอดเวลาเช่น การตรวจแบบฝึกหัดผลการปฏิบัตตามโครงการหรือโครงงานต่างๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ผู้สอนสามารถประเมินพฤติกรรมระดับสูงของผู้เรียนได้เป็น อย่างดี

ข้อเสนอแนะสำหรับการตรวจผลงาน

-    ผู้สอนอาจกำหนดงานร่วมกับผู้เรียนและไม่ควรเป็นชิ้นเดียว แต่ก็ไม่จำเป็นต้องนำงานทุกชิ้นมาประเมิน อาจเลือกเฉพาะชิ้นงานที่ผู้เรียนทำได้ดี และการบอกความหมายความสามารถของผู้เรียนตามลักษณะที่ผู้สอนต้องการประเมิน ได้ วิธีนี้เป็นการเน้นจุดแข็งของผู้เรียน นับเป็นการเสริมแรงสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามผลิตงานที่ดีๆ ออกมามากขึ้นอีกวิธีหนึ่ง

-   จากแนวคิดตามข้อ 1 ชิ้นงานที่นำมาประเมินแต่ละคนจึงไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ผู้เรียนคนที่ 1 งานที่ (ทำได้ดี) ควรหยิบมาประเมินอาจเป็นชิ้นงานที่ 2, 3, 5 ส่วนผู้เรียนคนที่ 2 งานที่ควรหยิบมาประเมินอาจเป็นชิ้นงานที่ 1, 2, 4 เป็นต้น

-   อาจประเมินชิ้นงานที่ผู้เรียนทำนอกเหนือจากที่ผู้สอนกำหนดได้ แต่ต้องมั่นใจว่าเป็นสิ่งที่ผู้เรียนทำเองจริงๆ เช่น สิ่งประดิษฐ์ที่ผู้เรียนทำเองที่บ้าน หรือสิ่งที่ผู้เรียนทำขึ้นเองตามความสนใจ เป็นต้น การใช้ข้อมูลและหลักฐานผลงานอย่างกว้างขวางจะทำให้ ผู้สอนรู้จักผู้เรียนมากยิ่งขึ้นและประเมินความสามารถของผู้เรียนตามสภาพที่ แท้จริงของเขาได้แม่นยำยิ่งขึ้น

-   ผลของการประเมินไม่ควรที่จะบอกคะแนนหรือคุณภาพที่เป็นเฉพาะต้วเลขอย่างเดียว แต่ควรที่จะบอกความหมายของผลของคะแนนด้วย

5.   การใช้บันทึกจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง

การประเมินความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียน นอกจากผู้สอนจะใช้วิธีการและเครื่องมือต่างๆ ที่หลากหลายแล้ว ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้บุคคลที่เกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับผู้เรียนได้ มีส่วนร่วมในการรายงานข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการประเมินด้วย การประเมินจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆ คนจะเป็นการหาความเชื่อมั่นของการประเมินจากสภาพความเป็นจริงอีกทางหนึ่ง ข้อมูลที่ได้จากบุคคลที่เกี่ยวข้องมีจุดเด่นตรงที่จะได้ข้อมูลของผู้เรียน จากสถานการณ์ต่างๆ และจากเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จัดว่ามีความสำคัญในการที่จะนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปผล โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน เช่น เพื่อนผู้เรียน เป็นต้น

6.   แบบทดสอบวัดความสามารถที่เป็นจริง 

ข้อสอบจะใช้คำถามที่เกี่ยวกับการนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ ต่างๆ หรือการสร้างความรู้ใหม่จากความเข้าใจและประสบการณ์เดิม หรือสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้นให้คล้ายคลึงกับสถานการณ์จริงหรือเลียนแบบ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง  เช่น ข้อสอบวัดทักษะการใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร  ข้อสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

7.   การรายงานตนเอง

การให้ผู้เรียนเขียนบรรยายความรู้สึก หรือพูดแสดงความคิดเห็นออกมาโดยตรง  เพื่อประเมินความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจ และความต้องการของผู้เรียน ซึ่งช่วยให้ผู้สอนเข้าใจผู้เรียนมากขึ้นและสามารถประเมินผลการเรียนรู้ด้าน ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการ รวมถึงทัศนคติต่อการเรียนรู้ได้

8.   การใช้แฟ้มสะสมผลงาน

การจัดเก็บตัวอย่างผลงานที่มีการรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ และกระทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้เรียนในด้านความรู้ ความเข้าใจ และทักษะต่างๆ ที่ผู้เรียนพัฒนา ทั้งนี้ผลงานสามารถนำมาประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้มีความน่า เชื่อถือได้

วิธีการให้คะแนนในการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง

การวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง มีวิธีการหลากหลายในการให้คะแนนโดยมีรายละเอียดดังนี้

-   การให้คะแนนแบบไม่ชัดเจน (ตามใจผู้ประเมิน) เช่น ในการตรวจให้คะแนนโครงงาน ถ้ากำหนดคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผู้สอนอาจใช้เกณฑ์ในใจซึ่งเป็นไปตามความคิดของผู้สอน ตัดสินให้คะแนนตามที่ห็นสมควรเป็น 6, 8 คะแนน เป็นต้น มีแนวโน้มที่จะเกิดความลำเอียงได้ง่าย การให้คะแนนเช่นนี้เป็นการยากต่อการแปลความหมาย

-   การให้คะแนนแบบถูกผิดชัดเจน เช่น ในการตรวจข้อสอบเมื่อตอบถูกตรงตามเฉลยก็ได้คะแนนเต็ม แต่เมื่อตอบผิดก็ไม่ได้คะแนนดังที่ใช้ในการตรวจข้อสอบแบบถูกผิด แบบจับคู่ หรือแบบตัวเลือก

-   การให้คะแนนแบบมาตรประมาณค่า (Rating scales) เป็นการให้คะแนนตามช่วงของความถูกต้องของคำตอบ หรือการแสดงพฤติกรรม หรือคุณภาพของชิ้นงาน เช่น ในมาตรประมาณค่า 5 ช่วง หรือ 3 ช่วง ฯลฯ เมื่อตอบถูกมากที่สุดหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยที่สุดหรือชิ้นงานมีคุณภาพมากที่ สุดจะได้ 5 คะแนน ลดหลั่นลงไปตามลำดับจนถึง 1 คะแนนเมื่อตอบถูกต้องน้อยที่สุด หรือแสดงพฤติกรรมน้อยที่สุด หรืองานมีคุณภาพน้อยที่สุด เป็นต้น การให้คะแนนวิธีนี้มีเชื่อถือได้มากขึ้นแต่ยังไม่สมบูรณ์ที่จะให้ข้อมูล ป้อนกลับในเชิง “คุณภาพ” ว่าส่วนที่บกพร่องไปนั้นคืออะไร

-   การให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนน หรือรูบริค (Rubric)  วิธีการให้คะแนนที่ใช้หลักการของมาตรประมาณค่าประกอบกับการพรรณนาคุณภาพ กล่าวคือ แทนที่จะใช้ตัวเลข เช่น 5 – 4 – 3 – 2 – 1 หรือ 3 – 2 – 1 ฯลฯ มีการแปลความหมายกำกับด้วยและเพิ่มข้อมูลรายละเอียดว่าคะแนนที่ได้ลดหลั่นลง ไปมีความบกพร่องที่บ่งชี้เป็นข้อมูลเชิง “คุณภาพ” ว่าเป็นอย่างไร ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ผนวกอยู่กับข้อมูลเชิงปริมาณในการให้คะแนนแบบรูบริคนี้ มีประโยชน์ในการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้ถูกประเมิน ซึ่งเป็นการตอบสนองหลักการของการประเมินผลเพื่อการปรับปรุง

 

แหล่งอ้างอิง

1. ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ. กรุงเทพฯ : แดแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น. พิมพ์ครั้งที่ 4.

2.  สมศักดิ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2545). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.

3.  สุนันท์ ศลโกสุม. (2552). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

4.  ชาตรี เกิดธรรม. แนวคิดในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้. แหล่งที่ค้นคว้าจากเว็บไซด์ : http://edu.vru.ac.th/sct/cheet%20downdload/6.pdf

 

ที่มา:  คลิกที่นี่http://c4ed.lib.kmutt.ac.th/x-classroom/?p=873
                                                                                                                                                                                                                                                                             
 
Language:
Access มุมสมาชิก
 
   Access to management
User
Password
ประเภท
 
 
 
Statistic & Counter

ขณะนี้ออนไลน์: 3 คน

สถิติวันนี้:      93 คน

สถิติเดือนนี้:   498 คน

สถิติปีนี้:        1137 คน

สถิติทั้งหมด: 1137 คน